วัสดุในการทำป้ายโฆษณา เช่น ป้ายไวนิล และหมึกในการพิมพ์ป้ายโฆษณามีอะไรบ้าง

ความแตกต่างของวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำป้ายโฆษณา เช่น ป้ายไวนิล และหมึกที่ใช้พิมพ์

ป้ายไวนิล

 

ป้ายโฆษณาที่ดีต้องสื่อสารได้อย่างครบถ้วน ประกอบกับการดีไซน์ที่ดูโดดเด่น ดึงดูดสายตาคนผ่านไปผ่านมา ให้มาสนใจคำบอกเล่าบนป้ายโฆษณาของตัวเองให้ได้ ฉะนั้น นอกจากดีไซน์ที่โดดเด่นแล้ว การเลือกวัสดุในการทำป้ายโฆษณา เช่น ป้ายไวนิล หรือวัสดุอื่น ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญเช่นกัน เรามาทำความรู้จักวัสดุแต่ละชนิดที่คนนิยมนำมาทำป้ายโฆษณากัน

วัสดุในการทำป้าย นอกจากป้ายไวนิลแล้ว ยังมีวัสดุอื่น ๆ อีกหลายประเภท

  • ป้ายไวนิล (Vinyl)
    สำหรับวัสดุในการทำป้ายที่ได้รับความนิยมสูงสุดเห็นจะหนีไม่พ้นกับวัสดุตัวนี้ ไวนิล ด้วยความคุัมค่าของราคาเมื่อนำไปเทียบต่อขนาดเป็นตารางเมตร ลักษณะของไวนิลจะเป็นพลาสติก PVC รีดอัดด้วยเส้นใยตาข่ายเพื่อเพิ่มความเเข็งแรง มีสีขาวให้เลือกหลายเฉดสี สามารถนำไปพิมพ์อิงค์เจ็ทได้ตามแบบที่ต้องการ ทนต่อสภาพอากาศ และราคาไม่แพง ไวนิลมีให้เลือกหลายเกรด สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของงาน และมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 1-2 เดือนไปจนถึง 3-5 ปีเลยทีเดียว นิยมใช้ทำ ป้ายโลโก้ ป้ายแบนเนอร์โฆษณาหน้าร้าน คัทเอ้าท์ขนาดกลาง ป้ายหาเสียง ไปจนถึงบิลบอร์ดขนาดใหญ่

  • ป้ายซิงค์ (Zinc)
    ซิงค์ หรือที่เเปลว่า สังกะสี ป้ายชนิดนี้วัสดุคือสังกะสี หรือแผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีด้วยกรรมวิธีไฟฟ้า เหมาะสำหรับใช้กับงานที่ต้องการความทนทาน ทนต่อการสึกกร่อน นิยมนำมาใช้ทำเป็นวัสดุในการทำป้ายตัวอักษรหรือเป็นกล่องไฟ ฉลุลายตามแบบ ป้ายซิงค์จะมีราคาถูกและมีคุณสมบัติคล้ายกับเหล็ก หรืออลูมิเนียม สามารถนำไปขึ้นรูปและเลือกสีได้ตามความต้องการ นิยมทำเป็น ป้ายบริษัท ป้ายหน้าร้าน ป้ายโรงงาน ป้ายชื่อร้านอาหาร ป้ายชื่อคาเฟ่ ฯลฯ

    และยังได้รับความนิยมในการนำมาทำเป็นป้ายกล่องไฟซิงค์ หรือป้ายไฟซิงค์ โดยนำมาตีเป็นกล่องยกขอบและทำสี การทำสีจะช่วยป้องกันการเกิดสนิม และปกปิดพื้นผิวของซิงค์ ทำให้การใช้งานคงทนมากยิ่งขึ้น

  • ป้ายสเเตนเลส (Stainless Steel)
    สเตนเลสจัดอยู่ในประเภทของเหล็กกลุ่มที่มีความต้านทานต่อการกัดกร่อน หรือที่รู้จักกันในชื่อ เหล็กกล้าไร้สนิม ในสเตนเลสจะมีโครเมี่ยมผสมอยู่ไม่น้อยกว่า 10.5% และยังมีการเติมธาตุอื่นๆ เข้าไปอีก เช่น นิกเกิล โมลิบตินัม ไททาเนียม เพื่อเพิ่มความต้านทานในการกัดกร่อน คุณสมบัติเด่นของสเตนเลสอีกอย่างก็คือ สามารถทนต่อความร้อนหรืออุณหภูมิทั้งสูงและต่ำได้ ง่ายต่อการนำไปประกอบขึ้นรูปต่างๆ สเตนเลสมีให้เลือกหลายสีหลายแบบ เช่น สีทอง สีเงิน ผิวเรียบ ผิวเงา หรือแบบแฮร์ไลน์ เหมาะกับการนำไปทำป้ายอาคาร ป้ายบริษัท ป้ายโรงงาน หรือนำมาดัดเป็นตัวอักษรต่างๆ เพิ่มความโดดเด่นให้กับผู้พบเห็น

  • ป้ายอลูมิเนียม (Aluminium)
    อลูมิเนียมจัดว่าเป็นโลหะธรรมชาติ ทนต่อความร้อนสูงๆ และแน่นอนว่าม้นเก่งเรื่องทนต่อสึกกร่อน และยังทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย มีความมันวาว ไร้สนิม สามารถนำไปชุบสีได้ตามความต้องการ จุดเด่นอีกหนึ่งอย่างของอลูมิเนียมคือ น้ำหนักเบา ราคาไม่แพง เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการควบคุมงบประมาณ

    เมื่อมีจุดเด่นก็ต้องมีจุดด้อยเป็นธรรมดา ข้อด้อยของอลูมิเนียมคือ ไม่ทนต่อการกัดกร่อน โดยเฉพาะไอน้ำเค็มจากทะเล เหมาะกับการนำไปทำป้ายโฆษณาแบบแผ่นเรียบ เนมเพลท กรอบป้ายไฟสำเร็จรูป เป็นต้น

  • ป้ายอะคริลิค (PMMA Acrylic)
    อะคริลิคก็คือพลาสติกที่มีความทนทานนั่นเอง สำหรับในวงการป้ายโฆษณา อะคริลิคได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ที่ช่างมักจะเรียกกันก็คือ อะคริลิคพลาสติก ป้ายพลาสติก หรือเเผ่น อะคริลิค ด้วยความที่อะคริลิคมีความแข็งแรง ทนทาน ทนต่อแรงกระแทกได้ดีกว่ากระจกเสียอีก และมักจะมีความหนาตั้งแต่ 2-20 มิลลิเมตร ขึ้นไป มีให้เลือกทั้งอะคริลิคโปร่งแสง อะคริลิคใส อะคริลิคทึบ รวมถึงสีก็มีให้เลือกมากมายเช่นกัน เหมาะกับงานกลางแจ้ง และมักจะถูกนำมาแปรรูปเป็นวัตถุรองรับของใช้และแบบป้ายต่างๆ

  • ป้ายไฟ (Light Box)
    ป้ายไฟ เป็นป้ายที่นำเอาวัสดุในข้อ 1-4 มาทำเป็นป้าย และนำไปทำเป็นกล่องไฟ หรือป้ายไฟตัวอักษร เหมาะกับงานป้ายร้านค้า ป้ายบริษัท ป้ายอาคาร ป้ายร้านอาหาร โดยขนาดจะขึ้นอยู่กับการใช้งาน และสามารถเลือกได้ว่าจะให้แสงไฟออกทางไหน เช่น ป้ายไฟออกหน้าและข้าง หรือใช้เป็นป้ายไฟออกหลัง เป็นต้น โดยตัวโครงสร้างป้ายนิยมนำโลหะซิงค์มาทำเป็นโครงป้าย และสามารถเพิ่มลูกเล่นอื่นๆ เช่น อะคริลิค เป็นต้น

  • ป้ายพลาสวูด (Plastwood)
    พาสวูด เป็นวัสดุในการทำป้าย วัสดุมาจากแผ่นท่อ PVC รีไซเคิลที่มีคุณภาพสูง วัตถุประสงค์ของพลาสวูดคือ นำมาทดแทนการใช้ไม้จากธรรมชาตินั่นเอง มีคุณสมบัติเฉพาะตัว ที่ผิวภายนอกแข็งแรง ไม่ดูดซึมความชื้น ทนร้อน ทนฝน ทนต่อทุกสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี เป็นฉนวนกันความร้อน กันเสียง และไม่เป็นเชื้อไฟ สามารถต้านทานสารเคมีได้หลายชนิด

    เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการสื่อถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเหมาะกับการนำไปทำป้าย กลางแจ้ง เนื่องจาก ทนร้อน ทนฝน ไม่บวมน้ำนั่นเอง

  • ป้ายพีพีบอร์ด (PP Board)
    พีพีบอร์ด หรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด เป็นพลาสติกที่มีลอนคล้ายกับลูกฟูก สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พลาสติกลูกฟูก หรือแผ่นโพลีโพรพีลีน มีน้ำหนักเบา สามารถนำมาตัดและใช้งานได้หลายรูปแบบ เหมาะกับการทำป้ายชั่วคราว ป้ายตามงานอีเว้นท์ สแตนดี้ ป้ายพร๊อพตกแต่งไฟ LED เป็นต้น

  • ป้ายไม้ (Natural Wood)
    วัสดุจะเป็นไม้ ไม้มีเสน่ห์อยู่แล้วด้วยเรื่องของลายที่เกิดจากธรรมชาติ นิยมนำมาทำเป็นป้ายฉลุตัวอักษร แกะสลักอักษรนูน และเคลือบเพื่อโชว์ลายไม้ เหมาะกับการนำไปทำเป็นป้ายบริษัท ที่นำไปผสมกับวัสดุอื่นๆ ป้ายเลขที่บ้าน ป้ายวัด ป้ายสถานปฏิบัติธรรม

 

หมึกในระบบการพิมพ์มีกี่ประเภท

  • เล็ตเตอร์เพรส หรือดรายออฟเซต - หมึกชนิดนี้มีคุณสมับติหนืดและเหนียว ไม่เหมาะกับงานที่ต้องนำไปผสมกับน้ำ เพราะหมึกชนิดนี้ไม่สามารถรวมตัวกับน้ำได้

  • ออฟเซต - เหมาะกับการนำไปพิมพ์ แผ่นพับ โบรชัวร์ ใบปลิว หนังสือ นิตยสาร แคตตาล็อก หรืองานพิมพ์ในสำนักงาน สามารถเเบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท หมึกพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน ต้องพิมพ์ด้วยความเร็วสูง หมึกออฟเซตป้อนแผ่นออกแบบมาให้หมึกแห้งตัวด้วยวิธีการที่เรียกว่า ออกซิเดชั่นและแห้งตัวด้วยรังสี ยูวี

  • เฟล็กโซกราฟี - เป็นหมึกพิมพ์เหลว มีค่าความหนืดต่ำ หมึกสามารถแห้งตัวได้ด้วยการดูดซึมหรือการระเหย เหมาะกับการนำไปใช้พิมพ์บรรจุภัณฑ์แบบยืดหยุ่น การผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องลูกฟูก รวมไปถึงการนำไปใช้ใยการผลิตฉลากบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

  • กราเวียร์ - เป็นหมึกพิมพ์เหลวที่แห้งตัวด้วยการระเหย มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ หมึกพิมพ์ฐานตัวทำลาย และฐานน้ำ เหมาะกับการนำไปใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการพิมพ์เป็นจำนวนมาก เพราะแม่พิมพ์และการพิมพ์แบบนี้ค่อนข้างมีราคาแพง

  • หมึกพิมพ์สกรีนหรือฉลุลายผ้า - เหมาะกับการนำไปใช้กับเครื่องพิมพ์สกรีนที่มีความคล่องตัวสูง สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุได้หลายชนิด เช่น กระดาษ พลาสติก โลหะ แก้ว หนัง เซรามิค ไม้ โปสเตอร์ต่างๆ ป้ายตามท้องถนน บรรจุภัณฑ์ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว หรือพิมพ์ลงบนเสื้อยืด เป็นต้น

  • หมึกพิมพ์พ่นหมึก - หรือที่รู้จักกันในชื่อ inkjet ink เป็นหมึกเหลวที่สามารถพ่นออก มาจากท่อพ่นหมึกของเครื่องพิมพ์พ่นหมึก นิยมนำไปใช้ในสำนักงาน บริษัท บ้าน และที่ผลิตป้ายโฆษณาตามท้องถนน

  • หมึกพิมพ์พิเศษ - ตัวอย่างหมึกพิมพ์ประเภทนี้ได้แก่ หมึกพิมพ์แววโลหะ หมึกพิมพ์แมกเนติก หมึกพิมพ์ป้องกันการปลอมแปลง และหมึกพิมพ์ฉลากพิเศษ เป็นต้น


ทั้งหมดนี้ คือวัสดุและหมึกพิมพ์ประเภทต่างๆ ที่คนนิยมนำมาทำเป็นป้ายโฆษณา หากคุณกำลังมองหาบริษัทผลิตป้ายโฆษณา ป้ายไวนิล ฯลฯ มาปรึกษาเรา บริษัท ออลอินอัน พริ้นติ้ง โรงพิมพ์ดิจิตอล ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์แบบครบวงจร ด้วยประสบการณ์กว่า 15 ปี พร้อมด้วยทีมงานและช่างผู้เชี่ยวชาญ บวกกับอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า งานพิมพ์ทุกชิ้นจากออลอินวัน พริ้นติ้ง มีคุณภาพสูง ได้งานเร็ว และราคาไม่แพง


ติดต่อเราโรงพิมพ์ โรงพิมพ์ดิจิตอล All in One Printing
รับพิมพ์ซองจดหมาย 
พิมพ์คูปอง พิมพ์บิล ป้ายไวนิล

https://www.allinoneprinting.co.th
โทรศัพท์ : 02-115-3468
โทรศัพท์ : 02-865-2689, 02-865-2493
อีเมล : sale8.aiop@gmail.com



Visitors: 183,921