การเข้าเล่มรายงาน เอกสาร หรือหนังสือกับโรงพิมพ์ มีทั้งหมดกี่แบบ

จะพิมพ์เอกสาร รายงาน หรือหนังสือ กับโรงพิมพ์ ควรเข้าเล่มแบบไหนให้เหมาะสม

พิมพ์หนังสือกับโรงพิมพ์

เมื่อคุณทำรายงาน ทำรูปเล่มเอกสาร หรือต้องการพิมพ์หนังสือเป็นรูปเล่ม ทางโรงพิมพ์จะมีรูปแบบการเข้าเล่มให้คุณเลือกหลายแบบ หลายราคา ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถเลือกได้ว่า เอกสารหรือหนังสือของคุณควรจะใช้การเข้าเล่มแบบไหนดี ก่อนอื่นจึงควรมาทำความรู้จักกับรูปแบบการเข้าเล่มของทางโรงพิมพ์ ว่ามีทั้งหมดกี่แบบ โดยแบ่งเป็นการเข้าเล่มรายงานหรือการเข้าเล่มเอกสาร และการเข้าเล่มหนังสือ

การเข้าเล่มรายงานหรือการเข้าเล่มเอกสารของทางโรงพิมพ์

การเข้าเล่มรายงานหรือการเข้าเล่มเอกสาร คือการนำเอกสารที่มีจำนวนหน้าไม่มากนักมาเข้ารูปเล่ม ซึ่งโดยมากมักใช้กับเอกสารที่ไม่เป็นทางการ เช่น รายงานบริษัท รายงานการประชุม วิทยานิพนธ์ หรือรายงานของนักเรียน นักศึกษา โดยรูปแบบการเข้าเล่มเอกสารของทางโรงพิมพ์ มีทั้งหมดดังนี้

  • การเข้าเล่มกระดูกงู
    การเข้าเล่มแบบกระดูกงูหรือสันพลาสติก เป็นวิธีการเข้าเล่มที่ทางโรงพิมพ์นิยมใช้ โดยสันพลาสติกที่ใช้จะมีลักษณะเป็นเกลียวแผ่นสี่เหลี่ยมหนาคล้ายกระดูกงู ซึ่งในการเข้าเล่มชนิดนี้ ทางโรงพิมพ์จะใช้เครื่องเจาะขอบเอกสารทางด้านซ้ายให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอนเสียก่อน แล้วจึงนำห่วงไปเข้าเครื่องเพื่อง้างห่วงกระดูกงูออก แล้วจึงวางเอกสารลงไปบนห่วง เมื่อกดปิดห่วงเอกสาร การเข้าเล่มก็จะเสร็จสมบูรณ์

  • การเข้าเล่มตาไก่
    การเข้าเล่มแบบตาไก่ เป็นวิธีการเข้าเล่มที่ทางโรงพิมพ์สามารถทำได้ง่าย และสะดวกรวดเร็ว เพราะเพียงแค่เจาะขอบเอกสารด้านซ้ายให้เป็นรูด้วยเครื่องเจาะกระดาษ จากนั้นทางโรงพิมพ์ก็จะนำตาไก่มาตอกเข้าไปในรูกระดาษนั้น เพื่อปิดขอบของรูเอาไว้ และประสานแผ่นเอกสารให้เป็นรูปเล่ม

  • การเข้าเล่มแบบเทปปิด
    หากเอกสารมีจำนวนหน้าไม่มากนัก และต้องการปิดสันของเอกสารให้ดูเรียบร้อย การเข้าเล่มที่ทางโรงพิมพ์จะใช้ คือการเข้าเล่มแบบเทปปิด โดยเย็บเอกสารด้วยแม็คเย็บกระดาษตัวใหญ่หรือลวด แล้วจึงนำเทปกาวสีต่าง ๆ มาแปะปิดสันเอกสาร เป็นวิธีที่มักนิยมใช้กับการเข้ารูปเล่มรายงานหรือเอกสารที่ไม่เป็นทางการ และมีจำนวนเล่มไม่มาก

  • การเข้าเล่มแบบสันห่วง
    การเข้าเล่มแบบสันห่วง เหมาะสำหรับใช้เข้าเล่มทั้งเอกสารที่มีจำนวนหน้าน้อยและเอกสารที่มีจำนวนหน้าเยอะ โดยลักษณะสันปกชนิดนี้ จะเป็นห่วงเหล็กหรือห่วงพลาสติกเดี่ยว ๆ ที่มีให้เลือกหลายขนาด ส่วนวิธีการเข้าเล่ม ทางโรงพิมพ์จะเริ่มจากการเจาะรูกระดาษ โดยมักนิยมเจาะเฉพาะส่วนบนหรือล่างอย่างละ 3-4 รู แล้วจึงสอดห่วงเข้าไปในรูบนกระดาษทีละอันจนครบ

  • การเข้าเล่มแบบเกลียวคู่/เกลียวเดี่ยว
    หากเอกสารมีความหนา และมีจำนวนหน้าเยอะ ทางโรงพิมพ์มักนิยมใช้การเข้าเล่มแบบสันเกลียวหรือสไปรัล เพราะเป็นการการเข้าเล่มที่แข็งแรงทนทาน ตัวเกลียวสามารถใส่เอกสารเข้าไปได้หลายแผ่นโดยไม่เลื่อนหลุด โดยสันปกแบบเกลียว ทางโรงพิมพ์จะมีให้เลือกใช้ทั้งแบบสันปกเกลียวคู่และสันปกเกลียวเดี่ยว และมีทั้งที่ทำจากวัสดุเหล็กหรือพลาสติก ส่วนการเข้าเล่ม ทางโรงพิมพ์จะนำเอกสารไปเข้าเครื่องเจาะรูกระดาษ โดยเจาะที่ขอบด้านซ้ายของเอกสาร แล้วจึงนำสันเกลียวสอดเข้าไปในเอกสารด้วยเครื่องหมุนไฟฟ้าหรือหมุนมือ แล้วเอกสารก็จะสำเร็จเป็นรูปเล่มสวยงาม และนอกจากจะใช้สันปกเกลียวในการเข้าเล่มเอกสารแล้ว ยังเป็นวิธีที่นิยมนำไปใช้ในการเข้าเล่มสมุดบันทึกอีกด้วย

  • การเข้าเล่มแบบสันตะเกียบหรือสันตะปู
    หากเอกสารมีจำนวนหน้าเยอะและมีความหนา การเข้าเล่มแบบสันตะเกียบหรือสันตะปู ก็เป็นวิธีการเข้าเล่มที่ทางโรงพิมพ์แนะนำ เพราะเป็นการเข้าเล่มที่มีความแน่นหนา เอกสารไม่หลุดออกจากตัวเล่ม โดยวิธีการการเข้าเล่ม ทางโรงพิมพ์จะเริ่มจากการเจาะกระดาษให้ตรงกับบริเวณที่จะเสียบสันตะปูเข้าไป จากนั้นนำสันตะปูเสียบลงในรูเอกสารที่เจาะไว้ แล้วกดปิดสัน ก็จะได้รูปเล่มที่เสร็จสมบูรณ์ แต่การเข้าเล่มด้วยวิธีนี้ บริเวณสันของเอกสารจะไม่มีการปิดที่ขอบสัน

  • การเข้าเล่มแบบสันรูดหรือสันหนีบ
    เป็นอีกวิธีการเข้าเล่มที่โรงพิมพ์มักนิยมใช้ในการเข้าเล่มรายงาน หรือเอกสารที่มีความหนาปานกลาง ลักษณะของสันปกแบบรูดจะเป็นแท่งพลาสติกขนาดยาว และมีช่องตรงกลางสำหรับใส่เอกสารเข้าไป เพื่อให้สันรูดหนีบปึกเอกสารเอาไว้ โดยทางโรงพิมพ์จะเย็บเล่มด้วยหมุดตาไก่หรือแม็คเย็บกระดาษขนาดใหญ่ เพื่อความแน่นหนาของรูปเล่ม จากนั้นจึงนำสันปกแบบรูดมาหนีบบริเวณสันปกเพื่อปิดสันเอาไว้ให้แลดูสวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยสันปกแบบรูดจะมีความกว้างประมาณ 1 เซ็นติเมตร

นอกจากการเข้าเล่มเอกสารหรือการเข้าเล่มรายงานแล้ว หากต้องการจะจัดทำรูปเล่มหนังสือ ทางโรงพิมพ์ก็มีการเข้าเล่มอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการเข้าเล่มที่แน่นหนาแข็งแรงกว่าและสวยงามกว่าการเข้าเล่มแบบรายงาน ซึ่งโดยมากการเข้าเล่มแบบหนังสือ จะเหมาะกับการใช้งานที่เป็นทางการมากกว่า เช่น พิมพ์แคตตาล็อก พิมพ์หนังสือนิยาย พิมพ์รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น หรือพิมพ์นิตยสารองค์กร

โดยรูปแบบการเข้าเล่มหนังสือของทางโรงพิมพ์ มีทั้งหมดดังนี้

  • การเข้าเล่มแบบไสกาว
    การเข้าเล่มแบบไสกาว เป็นการเข้าเล่มที่ทางโรงพิมพ์นิยมใช้มากที่สุด และเป็นที่นิยมของลูกค้า เนื่องจากขั้นตอนในการเข้าเล่มไม่ยุ่งยาก และมีราคาไม่แพง โดยการเข้าเล่มแบบไสกาวจะเหมาะกับหนังสือที่มีความหนาตั้งแต่ 100 หน้าขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 500 หน้า ส่วนวิธีการเข้าเล่มแบบไสกาวนั้น ทางโรงพิมพ์จะนำสันหนังสือมาไสกาว แล้วจึงนำปกหนังสือมาหุ้มไว้ โดยปกติแล้วปกหนังสือมักใช้กระดาษอาร์ตที่มีความตั้งแต่ 300 แกรมขึ้นไป จึงจะได้รูปเล่มหนังสือที่สวยงาม

  • การเข้าเล่มแบบเย็บกี่ไสกาว ปกอ่อน/ปกแข็ง
    สำหรับการเข้าเล่มหนังสือที่มีความหนามาก ๆ ตั้งแต่ 400 หน้าขึ้นไป ทางโรงพิมพ์จะมีการเข้าเล่มแบบเย็บกี่ไสกาว ที่จะมีความแน่นหนามากกว่า ไม่ต้องกังวลว่ากระดาษจะหลุดจากการกาวที่ไสไว้ โดยวิธีการเข้าเล่มแบบเย็บกี่ไสกาวตามรูปด้านบน ทางโรงพิมพ์จะแบ่งหน้าหนังสือออกเป็นเล่มเล็ก ๆ แล้วนำไปเย็บด้วยเชือกแบบมุงหลังคา จากนั้นทางโรงพิมพ์จึงจะนำไปเข้าเล่มด้วยสันกาวอีกที และนอกจากจะหุ้มปกด้วยกระดาษอ่อนที่มีความหนา 300 แกรมแล้ว ยังสามารถหุ้มด้วยปกแข็ง ซึ่งเป็นปกแบบจั่วปัง ที่เป็นการนำกระดาษบาง 115-130 แกรม มาหุ้มกระดาษแข็งจั่วปังเพื่อทำเป็นปกแข็ง

  • การเข้าเล่มแบบเย็บมุมหลังคา
    หากหนังสือมีจำนวนหน้าไม่มากและเล่มไม่หนาเท่าไหร่นัก ทางโรงพิมพ์ก็มีการเข้าเล่มแบบเย็บมุงหลังคา โดยนำกระดาษรูปเล่มทั้งหมดที่ยังไม่ตัดแบ่งหน้า และหน้าปกที่รวมปกหน้าและปกหลังในแผ่นเดียว มาพับครึ่ง จากนั้นจึงเย็บตรงกลางด้วยลวด โดยการเข้าเล่มแบบเย็บมุงหลังคานี้ ทางโรงพิมพ์จะมีข้อแนะนำที่สำคัญคือ จำนวนหน้าหนังสือรวมปก ต้องเป็นจำนวนที่หารด้วย 4 ลงตัว เช่น 8, 12, 16, 20 หรือ 24 เพราะหน้าหนังสือที่นำมาเข้าเล่มด้วยวิธีนี้ จะเป็นกระดาษที่พิมพ์ทั้งหน้าด้านซ้ายและขวา โดยไม่มีการตัดแบ่งครึ่งแผ่น ดังนั้นจึงควรมีจำนวนหน้าที่ลงตัว เพื่อให้สามารถพับครึ่งและเย็บตรงกลางได้

 

การเข้าเล่มรายงานและการเข้าเล่มหนังสือ ควรพิจารณาเลือกใช้จากจำนวนหน้าของหนังสือ และลักษณะของรูปเล่มว่าหนาหรือบาง รวมทั้งพิจารณาจากการนำเอกสารไปใช้งาน แล้วคุณจะทราบว่าควรนำไปเข้าเล่มที่โรงพิมพ์แบบเข้าเล่มรายงานหรือเข้าเล่มแบบหนังสือ และหากคุณกำลังมองหาโรงพิมพ์สำหรับเข้าเล่มเอกสาร รายงาน หรือหนังสือของคุณ ลองมาใช้บริการหรือติดต่อสอบถามได้ที่ All in One Printing โรงพิมพ์ที่ให้บริการแบบครบวงจร ทั้งพิมพ์ดิจิตอล พิมพ์อิงค์เจ็ท และพิมพ์ออฟเซ็ท พร้อมบริการเข้าเล่มที่มีคุณภาพ เพื่อให้งานพิมพ์ของคุณออกมาสวยงามและมีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน

ติดต่อเราโรงพิมพ์ โรงพิมพ์ดิจิตอล All in One Printing
รับพิมพ์ซองจดหมาย 
พิมพ์คูปอง พิมพ์บิล ป้ายไวนิล

https://www.allinoneprinting.co.th
โทรศัพท์ : 02-115-3468
โทรศัพท์ : 02-865-2689, 02-865-2493
อีเมล : sale8.aiop@gmail.com



Visitors: 182,527