พิมพ์บาร์โค้ดแบบต่างๆ และการนำไปใช้ให้เหมาะสม

ประเภทของการพิมพ์บาร์โค้ดที่นิยมใช้ แบบไหนเหมาะกับธุรกิจของคุณ

ประเภทของการพิมพ์บาร์โค้ด

 

การพิมพ์บาร์โค้ดมีบทบาทในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก ในยุคนี้แทบทุกสินค้าและผลิตภัณฑ์จะมีการพิมพ์บาร์โค้ดกำกับอยู่ข้างบรรจุภัณฑ์เสมอ เพื่อเป็นการบอกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ ช่วยให้สามารถจัดเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะงานที่มีปริมาณมากๆ บาร์โค้ดจะเข้ามามีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยจัดระบบคงคลังสินค้าได้อย่างรวดเร็ว

เรามักจะเห็นการพิมพ์บาร์โค้ดในลักษณะเป็นเส้นสีดำกับสีขาววางเรียงกันในแนวตั้ง หรือในลักษณะรูปแบบทางเรขาคณิตไร้แบบแผน บาร์โค้ด (Barcode) เหล่านั้นคือ รหัสประจำตัวสินค้า ประกอบด้วยเส้นที่มีความเข้ม (สีดำ) คู่กับเส้นที่มีความสว่าง (สีขาว) ใช้เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว ง่าย และมีความแม่นยำ ผ่านการใช้งานเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ที่จะทำหน้าที่เป็นตัวส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ การใช้บาร์โค้ดในปัจจุบันช่วยลดความผิดพลาดในการจัดเก็บข้อมูลได้มาก ช่วยประหยัดเวลาจากการใช้แรงงานจากคนเพียงทางเดียว และช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรบุคคลได้อีกด้วย

ระบบบาร์โค้ดที่นิยมพิมพ์บาร์โค้ดลงบนบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ในปัจจุบันมี 2 ประเภทหลัก คือ บาร์โค้ดแบบ 1 มิติ (1D) และบาร์โค้ดแบบ 2 มิติ (2D)

  1. บาร์โค้ดแบบ 1 มิติ (1D)
    บาร์โค้ดประเภทนี้มีลักษณะเป็นแท่งสีดำกับสีขาว วางสลับเรียงกันในแนวดิ่ง มีความหนาและความบางของแต่ละเส้นไม่เท่ากัน บาร์โค้ดแบบ 1 มิติจะเหมาะกับการใช้งานทั่วไป ใช้กับสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลเยอะมากนัก แสดงเพียงข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อสินค้า, วันหมดอายุ, รหัสเฉพาะสินค้า, เลขสมาชิก, เลขล็อตที่ผลิตสินค้า เป็นต้น

    บาร์โค้ดแบบ 1 มิติที่มีการพิมพ์บาร์โค้ดใช้กันอย่างแพร่หลายในบ้านเรามีอยู่ 3 ชนิด คือ EAN 13, Code 39 และ Code 128

    Code 39 เป็นบาร์โค้ดที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่ง จัดอยู่ในประเภท Lineal 1 D สามารถใช้บรรจุข้อมูลได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร ในขณะที่ Code 128 เป็นระบบบาร์โค้ดที่พัฒนามาจาก Code 39 เพื่อให้มีการรองรับข้อมูลที่มากขึ้น แต่จะมีขนาดแถบบาร์โค้ดที่เล็กกว่า การ์พิมพ์บาร์โค้ดก็จะใช้พื้นที่น้อยกว่า มี Automatic Switching Setting ที่ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งความสั้นยาวของขนาดบาร์โค้ดได้ บาร์โค้ดชนิดนี้มักมีการพิมพ์บาร์โค้ดเพื่อใช้งานในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้ในหน่วยงานรัฐ และองค์กรเอกชน เป็นต้น

    EAN 13 หรือ European Article Numbering เป็นระบบบาร์โค้ดที่มีความเป็นมาตรฐานสากล ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก จึงใช้สำหรับการซื้อขายสินค้าทั่วโลกเพื่อบอกข้อมูลชนิดหรือประเภทของสินค้านั้นๆ กำหนดระบบโดยองค์กร GS1 ได้รับนิยมใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ

  2. บาร์โค้ดแบบ 2 มิติ (2D)
    บาร์โค้ดแบบ 2 มิติ เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากบาร์โค้ดแบบ 1 มิติ จุดประสงค์เพื่อให้สามารถบรรจุข้อมูลได้มากขึ้นจากบาร์โค้ดแบบ 1 มิติ โดยมีความจุมากกว่าถึง 200 เท่า มีการเก็บข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน และสามารถให้ข้อมูลที่นอกเหนือไปจากภาษาอังกฤษ เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเกาหลี หรือภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น บาร์โค้ดแบบ 2 มิตินี้ยังมีความสามารถในการถูกถอดรหัสได้แม้ว่าบางส่วนของการพิมพ์บาร์โค้ดจะได้รับความเสียหายก็ตาม
    บาร์โค้ดแบบ 2 มิติที่นิยมนำมาพิมพ์บาร์โค้ดเพื่อใช้ในบ้านเรามีอยู่ 3 ชนิด คือ Data Matrix, PDF417 และ Quick Response (QR) Codes

    Data Matrix เป็นระบบมาตรฐานหลักของบาร์โค้ดแบบ 2 มิติ มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เก็บข้อมูลได้มากโดยใช้พื้นที่พิมพ์น้อย เหมาะกับงานพิมพ์บาร์โค้ดที่มีพื้นที่จำกัด ต้องใช้เครื่องแสกนเฉพาะที่รองรับ เช่น กล้องมือถือ เพื่ออ่านข้อมูลในแนวเส้นทแยงมุม บาร์โค้ดชนิดนี้นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิค เครื่องใช้ไฟฟ้า อะไหล่รถยนต์ หรือเครื่องจักร เป็นต้น

    PDF417 หรือ Portable Data File บาร์โค้ดชนิดนี้มีความแม่นยำสูง สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก ลักษณะบาร์โค้ดมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะสามารถอ่านได้แบบทิศทางเดียว มีความจำเป็นต้องเลื่อนอ่านจากทางซ้ายไปทางขวา, ทางขวาไปทางซ้าย, จากด้านบนลงล่าง หรือจากด้านล่างขึ้นข้างบน ตัวบาร์โค้ดมีขนาดใหญ่กว่าบาร์โค้ดแบบอื่นๆ ต้องใช้พื้นที่ในการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนบรรจุภัณฑ์ เหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น ใช้สำหรับยืนยันตัวตนบนใบขับขี่ บัตรประจำตัว เป็นต้น

    Quick Response (QR) Codes เทรนด์บาร์โค้ดแบบใหม่ล่าสุด มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในทั่วทุกมุมโลก เรียกสั้นๆ ว่า QR Code ลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัสตุรัส การพิมพ์บาร์โค้ดชนิดนี้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมด้านการตลาดด้วย สามารถเก็บข้อมูลลิงก์เว็บไซต์ลงไปได้ เหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือพาไปยังฐานข้อมูลที่ให้รายละเอียดได้มากกว่า เช่น ลิงก์เว็บไซต์หรือลิงก์แอพพลิเคชั่นต่างๆ หรือใช้ในการจ่ายบิล ชำระเงิน ตั๋วเครื่องบิน เช็คอินในที่ต่างๆ เป็นต้น

 

การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ดมาใช้ในการดำเนินธุรกิจช่วยให้การติดต่อระหว่างผู้ผลิต, ผู้ขนส่งสินค้า, ผู้จัดจำหน่าย, รวมถึงลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่น ลดขั้นตอนและประหยัดเวลาในการทำงาน ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลัง ดังนั้นเราจึงเห็นว่าผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการแทบทุกชนิดในปัจจุบันมีความจำเป็นต้องพิมพ์บาร์โค้ดลงบนบรรจุภัณฑ์หรือบนฉลากต่างๆ

บาร์โค้ดที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ พิมพ์บาร์โค้ดไม่เลอะเลือน เห็นเป็นเส้นเดียวชัดเจนไปจนถึงขอบเส้นหมึกไม่สะดุด โดยเฉพาะการพิมพ์บาร์โค้ดแบบ 1 มิติ ที่จะต้องมีความชัดเจนอย่างมาก เพื่อที่จะเข้าถึงข้อมูลได้อย่างแม่นยำ ALL IN ONE PRINTING โรงพิมพ์เพื่อการพิมพ์บาร์โค้ด ผลิตบาร์โค้ด ผลิตสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด เพื่อลูกค้าที่เริ่มทำธุรกิจใหม่ หรือผู้ประกอบการที่สนใจ

ALL IN ONE PRINTING มีความเชี่ยวชาญการพิมพ์บาร์โค้ดทุกรูปแบบ ใช้เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดมีความคมชัดพิเศษ หมึกพิมพ์บาร์โค้ดคุณภาพสูงที่ได้มาตรฐานสากลและมีความปลอดภัยสูง มั่นใจและรับประกันคุณภาพผลงานพิมพ์บาร์โค้ดกับ ALL IN ONE PRINTING สามารถสแกนสินค้าได้ทุกชิ้นอย่างแน่นอน บริการสร้างไฟล์บาร์โค้ดเพื่อนำไปพิมพ์บาร์โค้ดใส่ฉลากสินค้าของลูกค้า ออกแบบบาร์โค้ดให้ฟรีทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์บาร์โค้ดแบบ 1 มิติหรือแบบ 2 มิติ สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจของท่าน

ติดต่อเราโรงพิมพ์ โรงพิมพ์ดิจิตอล All in One Printing
รับพิมพ์ซองจดหมาย 
พิมพ์คูปอง พิมพ์บิล

https://www.allinoneprinting.co.th
โทรศัพท์ : 02-115-3468
โทรศัพท์ : 02-865-2689, 02-865-2493
อีเมล : sale8.aiop@gmail.com



Visitors: 182,527